อยากเก็บเงินพัฒนาตัวเองควรเริ่มจัดการเงินยังไง MAKE by KBank มีคำตอบ - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

อยากเก็บเงินพัฒนาตัวเองควรเริ่มจัดการเงินยังไง MAKE by KBank มีคำตอบ

Banner

เชื่อหรือไม่ว่า มีคนหลายคนที่เริ่มทำงานแล้ว ถึงได้เงินเดือนเยอะขึ้นก็ยังไม่มีเงินเก็บอยู่ดีและ เชื่อไหมว่า มีน้อง ๆ ที่เรียนมหาวิทยาลัยเก็บเงินได้เป็นแสน อะไรที่ทำให้สองคนนี้ต่างกัน ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะภาระที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน แต่วันนี้ผมจะชวนคิดถึงคนที่มีพื้นฐานชีวิตที่บ้านและสังคมต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เงินเก็บของทั้งสองกลุ่มต่างกันคือวิธีจัดการเงินที่ดีต่างกัน

วันนี้จะมาชวนทุกคนเริ่มจัดการเงินของคุณทันที! ใคร ๆ ก็สามารถจัดการเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นวัยมัธยม มหาลัย วัยทำงาน หรือจะเป็นคนที่มีหนี้ก็ตาม (หากไม่มีหนี้​หรือภาระก็จะง่ายกว่าครับ) อยากให้คิดเสมอว่าทุกบาทที่เราประหยัดได้ถือเป็นรายได้ของเราทันที ในบทความนี้ผมจะเน้นไปที่ การจ่ายให้ดี และจ่ายให้น้อยกว่ารายรับ อาจจะมีหลายๆ แนวคิดที่สามารถทำไปด้วยกันเพื่อช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้นครับ

การจ่ายให้ดี และจ่ายให้น้อยกว่ารายรับ จะทำให้เราไม่พลาดทุกการจ่าย ใช้เงินได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวล

เริ่มจากวางแผนกันก่อน มี 2 สิ่งที่เราต้องรู้ คือรายรับเท่าไหร่ และรายจ่ายเท่าไหร่

  1. รายรับเท่าไหร่ ถ้าเป็นมนุษย์เงินเดือนแบบผม รายรับจะค่อนข้างคงที่ ใช้เลขเงินเดือนเป็นรายรับได้เลย ถ้าคนที่ไม่มีรายได้ประจำ คิดว่าใช้เวลาสัก 3 เดือนก็อาจจะพอประมาณการได้ เอารายได้ 3 เดือนมาเฉลี่ยก็ได้ครับ
  2. รายจ่ายเท่าไหร่ หากใครที่ยังไม่เคยสังเกตว่าแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เราต้องเริ่มบันทึกดูว่าเรากินเดือนละเท่าไหร่ เดินทางเดือนละเท่าไหร่ ช็อปปิ้ง และออมเดือนละเท่าไหร่

พอเรารู้แล้วว่ารับเท่าไหร่ จ่ายเท่าไหร่ เราก็จะรู้เงินเก็บของเราทันที "เงินเก็บ = รายรับ - รายจ่าย" ถ้าเราอยากเพิ่มเงินเก็บ ก็เพิ่มรายรับหรือลดรายจ่ายก็ได้

การลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะเรามักจะคุมรายจ่ายไม่ได้

สาเหตุหลัก ๆ มาจากเราทดค่าใช้จ่ายไว้ในใจและมีบัญชีเดียวในการบริหาร ทำให้กว่าเราจะรู้ว่าเราใช้เงินเกินไม่พอใช้สิ้นเดือนก็สายไปแล้ว เช่น ในแต่ละเดือนเรามีรายจ่ายทั้งค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าช็อป ค่าบัตรเครดิต เงินเก็บ เงินลงทุน มากมายเกินกว่าจะมีบัญชีเดียวในการจัดการ

แนะนำให้สำรวจว่ามีรายจ่ายจากกี่ช่องทาง เช่น มีค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าช็อป และเงินเก็บ จากนั้นเราสามารถไปเปิดบัญชี 4 บัญชีเพื่อใช้เฉพาะของแต่ละชนิดการใช่จ่าย และจะใช้ค่าอะไรในแต่ละเดือนก็ให้จ่ายออกจากบัญชีนั้น ๆ เท่านี้เราก็จะใช้จ่ายได้อย่างไม่ต้องกังวล เพราะค่ากินจะไม่ไปเบียดเบียนเงินเดินทางหรือเงินช็อปปิ้งในแต่ละเดือน

วันนี้ผมมีฟังก์ชันที่จะเข้ามาช่วยจัดการเหตุการณ์ที่ต้องเปิดหลาย ๆ บัญชีให้ง่ายขึ้น

นั่นก็คือ ฟังก์ชัน Cloud Pocket ฟังก์ชันหลักของทางแอป MAKE by KBank ที่จะทำให้สามารถแบ่งเงินใน 1 บัญชีออกเป็นหมวดหมู่ให้เหมาะกับจุดประสงค์ในการใช้จ่าย หรือเก็บออมที่คุณออกแบบเองได้ แถมยังแบ่งได้ไม่จำกัดจำนวนด้วยนะ จะค่ากิน ค่าเดินทาง เงินเก็บ ค่าส่วนกลางคอนโด แบ่งได้หมด (ยิ่งไปกว่านั้นทุกกระเป๋าที่เราสร้างยังได้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 1.5% ต่อปีสำหรับแสนบาทแรก)

พอเห็นตัวอย่างแล้วใช่ไหมครับว่า หากเราวางแผนดี จ่ายให้ดี และจ่ายให้น้อยกว่ารายรับ รวมถึงมีเครื่องมือที่ดีอย่าง MAKE by KBank ในการจัดการเงิน ก็จะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้ถึงเป้าหมาย มีเงินจ่ายไม่พลาด และไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เตรียมใจ ช่วยให้เราเก็บเงินจนถึงเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ได้อย่างแน่นอน

สรุปโดยรวมแล้ว

  1. การจัดการเงินสำคัญ ไม่ว่าจะวัยมัธยม มหาลัย หรือวัยทำงาน
  2. การจัดการเงินที่ดีคือกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการเก็บเงิน
  3. การจัดการเงินทำได้เลย ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งได้เปรียบ ไม่ต้องรอจังหวะ
  4. การจัดการรายจ่ายคือหัวใจสำคัญของการจัดการเงิน ไม่ควรใช้บัญชีเดียวเครื่องมือที่ดีจะช่วยจัดการเงินได้ดีขึ้นไปอีก

สุดท้ายอยากย้ำวัยไหนก็จัดการเงินได้ เพราะไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งเริ่มก่อนยิ่งได้เปรียบ เราอาจจะเป็นเด็กมหาวิทยาลัยคนนั้นที่เก็บเงินได้เป็นแสน หรือจะเป็นคนวัยทำงานที่มีฐานะการเงินที่มั่นคง

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการจัดการเงินครับ :)

เริ่มจัดการเงินวันนี้ อย่ามัวแต่คิดว่าจะเริ่ม เพราะการจัดการเงินเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้ แล้วง่ายยิ่งขึ้นไปอีกถ้ามีตัวช่วยที่ดีอย่าง MAKE by KBank ที่สำคัญได้ดอกเบี้ย 1.5% สำหรับเงินฝาก 300,000 บาทแรกด้วยนะ!

วิธีเก็บเงินที่แนะนำไปหากลองปรับนิสัยตนเองได้เชื่อว่าการสร้างเงินเก็บระยะยาวของทุกคนจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อยากมีเงินเก็บ อย่างน้อยมันอุ่นใจ ไม่ต้องกลัวปัญหาเดือดร้อนแล้วไม่มีเงินจ่าย แต่ก็อย่าลืมใช้ชีวิตแบบไม่ประมาทกันด้วยนะ

กลับไปหน้าแรก