กู้เงินมาลงทุนแต่ไม่เป็นอย่างที่คิด วางแผนการเงินยังไงดี - MAKE by KBank
Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

กู้เงินมาลงทุนแต่ไม่เป็นอย่างที่คิด วางแผนการเงินยังไงดี

Banner คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยอยากมีธุรกิจเป็นของตนเองจึงมักตัดสินใจเก็บเงินลงทุนส่วนหนึ่ง ขณะที่อีกส่วนก็ใช้วิธีกู้เงินเพื่อให้ครบเต็มจำนวนตามแผนที่วางเอาไว้ แต่อย่างที่รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะสำเร็จได้ดังใจปรารถนา ด้วยปัจจัยหลายประกาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจตรงข้ามโดยสิ้นเชิง จึงเกิดเป็นคำถามว่าเมื่อสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจะแก้ปัญหาอย่างไรดี เงินสำรองก็แทบไม่เหลือ ลองมา วางแผนการเงินพร้อมใช้งาน แอปบริหารเงินอย่าง MAKE by KBank ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

สาเหตุสำคัญที่ลงทุนแล้วมักไม่ประสบผลสำเร็จ

ก่อนจะไปรู้วิธีวางแผนการเงินในกรณีที่คุณเก็บเงินลงทุนพร้อมกับการกู้จากสถาบันการเงินแล้วไม่เป็นตามเป้าหมาย ก็อยากแนะนำถึงสาเหตุหลัก ๆ เพื่อให้เหล่าบรรดานักธุรกิจหน้าใหม่ทั้งหลายลองนำไปปรับใช้กันดูเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จให้กับตนเองมากขึ้น

1. ขาดการวางแผนอย่างรอบคอบ ไม่มีแผนสำรอง

หลายคนมีไฟ คิดอะไรแล้วทำทันทีโดยยังไม่ทันวางแผนต่าง ๆ ให้รอบด้าน ไม่มีแผนสำรอง รวมถึงยังขาดประสบการณ์ในด้านธุรกิจ เมื่อเจอกับปัญหาก็ไม่รู้ว่าควรแก้ยังไงให้เหมาะสม ท้ายที่สุดผลออกมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทุนหายกำไรหด

2. สายป่านในการทำธุรกิจไม่ยาวพอ

อธิบายแบบเข้าใจง่ายก็คือ Connection ในการทำธุรกิจยังไม่กว้างมากพอ เงินทุนไม่ถึง แม้มีเงินสำรองก็ตาม เพราะยุคนี้การแข่งขันจัดว่าสูงมาก และธุรกิจหากไม่ Unique ในด้านใดด้านหนึ่งลูกค้าก็ไม่ค่อยสนใจ พอไม่สามารถลงทุนเพิ่ม หาช่องทางทำธุรกิจไม่ได้สุดท้ายก็พังไม่เป็นท่า

3. มั่นใจในตนเองมากเกินไป ไม่รับฟังผู้อื่น

หลายคนอาจประสบความสำเร็จในตอนเริ่มต้นจึงมักมีอีโก้ และรู้สึกว่าตนเองเก่งที่สุดจนไม่ยอมรับฟังแนวคิดของคนอื่น เมื่อเจอปัญหาเข้ามาโอกาสตัดสินใจผิดพลาดย่อมมีสูง และนั่นเองคือผลร้ายที่จะทำลายธุรกิจของคุณ

4. ปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้

ข้อสุดท้ายที่อยากฝากเอาไว้สำหรับคนทำธุรกิจแล้วไม่ประสบผลสำเร็จอาจมาจากปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กฎหมาย, โรคระบาด, สภาพอากาศ ไปจนถึงสภาวะด้านการเมือง, เทรนด์ตามยุคสมัย เป็นต้น

Image2

วางแผนการเงินยังไงดีเมื่อกู้มาลงทุนแล้วไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

คราวนี้ก็มาถึงคำถามที่นักธุรกิจหน้าใหม่จำนวนมากกำลังปวดหัวอย่างหนัก พวกเขาควรวางแผนการเงินยังไงดี เพราะอุตส่าห์ไปกู้กับสถาบันการเงินจนเต็มวงเงินแล้ว แต่ก็ยังไม่เดินหน้าไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ยิ่งไปกว่านั้นหนี้สินค่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย ลองมาใช้วิธีเหล่านี้กัน

1. ประเมินธุรกิจของตนเองว่ายังไปไหวอยู่หรือไม่

เริ่มแรกต้องประเมินธุรกิจให้ชัดเจนว่ายังพอเดินหน้าไหวหรือไม่ หากยังมีช่องทางแต่ต้องลดต้นทุนลง เช่น จำนวนพนักงาน, ย้ายสถานที่เช่าโกดัง ฯลฯ ก็ควรทำ เมื่อเซฟต้นทุนได้โอกาสการบริหารจัดการเงินให้คล่องตัวขึ้นก็มีสูง

2. หากไม่ไหวต้องตัดใจทันที

ในกรณีที่มองแล้วธุรกิจเดินหน้าต่อไม่ไหวแน่ เก็บเงินสำรองเพื่อใช้หนี้หรือเก็บเงินลงทุนเพื่อเริ่มใหม่ในด้านอื่นดีกว่าก็ต้องตัดสินใจทำ อย่ารีรอ เพราะยิ่งนานวนเท่าไหร่ความเสียหายย่อมเพิ่มขึ้นเสมอ

3. แบ่งเงินที่เหลือให้ชัดแล้วเคลียร์หนี้สิน

การที่ธุรกิจเดินหน้าต่อไม่ไหวมักมาจากเกิดหนี้สินเกินกว่ากำไรติดต่อกันเป็นเวลานาน หากตัดสินใจไม่เดินหน้าต่อแล้วก็ต้องเคลียร์เรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่ต้องติดค้าง และสร้างปัญหาจนเรื่องถึงตำรวจและศาล ตรงนี้อยากแนะนำเพิ่มเติมให้ลองแบ่งเงินส่วนที่เหลือด้วยการใช้แอปบริหารเงิน “MAKE by KBank” โดยเฉพาะฟีเจอร์ Cloud Pocket

สำหรับฟีเจอร์ Cloud Pocket จะทำหน้าที่ในการแบ่งกระเป๋าเงินแยกออกเป็นสัดส่วนชัดเจน โดยแบ่งได้ไม่จำกัด คุณอาจพูดคุยกับเจ้าหน้าทุกคนว่าสามารถผ่อนชำระได้เดือนละเท่าไหร่ จากนั้นก็เริ่มแยกกระเป๋ากันชัดเจนไปเลย เงินที่ถูกแยกออกจะไม่ถูกนำไปใช้ปะปนกันจนเกิดความสับสนอย่างแน่นอน มากไปกว่านั้นหากพอหารายได้เข้ามาจุนเจือใหม่อีกครั้ง เช่น เริ่มทำธุรกิจอื่น ก็ยังแบ่งกระเป๋าออกเป็นสัดส่วนเพื่อการลงทุนได้เช่นกัน แยกเงินสำรองเอาไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เมื่อคุณเห็นตัวเงินแต่ละส่วนว่าเป็นยังไงย่อมบริหารจัดการพร้อมวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ย้ำว่าเทคนิคนี้สามารถใช้ได้กับทุกประเภทธุรกิจไม่ว่าคนที่ทำแนว SME หรือแม้แต่ร้านค้าออนไลน์ที่เก็บเงินลงทุนมาได้ส่วนหนึ่งแต่ไม่เพียงพอต่อการซื้อของก็ไปขอกู้สถาบันการเงิน สามารถนำเอาแนวทางทั้งหมดนี้ไปใช้กันได้จริง เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการดาวน์โหลดแอปบริหารเงิน “MAKE by KBank” เข้ามาไว้ในมือถือ จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนสมัครกันได้เลย ไม่ยุ่งยาก แต่ยืนยันในผลลัพธ์ที่จะทำให้เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ทั้งเรื่องส่วนตัวและธุรกิจไม่เกิดปัญหาอื่นตามมาภายหลัง

แม้ครั้งนี้การทำธุรกิจของคุณอาจไม่ประสบความสำเร็จก็อย่าพึ่งท้อ ลองวิเคราะห์สาเหตุ ที่เกิดขึ้นมาจากไหน แล้วเมื่อไหร่สามารถเก็บเงินลงทุนได้ตามเป้าค่อยเปิดใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่คราวนี้ต้องวางแผนการเงินให้ดี มีการแบ่งสัดส่วนเงินสำรองเผื่อลงทุนด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม และอย่าลืมใช้แอปบริหารเงินดี ๆ อย่าง MAKE by KBank แล้วทุกอย่างจะคล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม ผลลัพธ์ไม่ไกลเกินฝัน

Back to Home