มีเงินสำรองไว้อุ่นใจแน่อนอน แต่มีเท่าไหร่ถึงจะพอ - MAKE by KBank
Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

มีเงินสำรองไว้อุ่นใจแน่อนอน แต่มีเท่าไหร่ถึงจะพอ

Banner ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน และคงไม่มีใครคาดเดาถึงอนาคตข้างหน้าได้ แต่สิ่งที่ยืนยันถึงความสบายใจอย่างหนึ่งนั่นคือ หากคุณมี เงินสำรอง ก็จะช่วยผ่อนหนักให้กลายเป็นเบาได้ในหลาย ๆ เรื่อง อย่างไรก็ตามคำถามที่คาใจคนจำนวนมากนั่นคือ ควรมีวิธีเก็บเงินนี้อย่างไร ที่สำคัญต้องเก็บให้ได้เท่าไหร่ถึงจะมองว่าเพียงพอกับอนาคตข้างหน้า ลองมาศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจบปัญหาเงินไม่พอใช้ทั้งตอนนี้และภายภาคหน้ากันดีกว่า

เงินสำรอง คืออะไร

เงินสำรอง คือ เงินที่เก็บเอาไว้เพื่อใช้ในเรื่องที่มีความจำเป็นหรือกรณีมีเรื่องด่วนที่ต้องหยิบเงินในส่วนนี้ออกมาใช้จ่าย เช่น คุณแม่เกิดอุบัติเหตุต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นการด่วน, เงินลงทุนทำธุรกิจแล้วยังขาดบางส่วนต้องมีเพิ่มเติมเข้าไป เป็นต้น หากอธิบายแบบเข้าใจง่าย เงินจำนวนนี้จะช่วยลดภาระหรือความยากลำบากในช่วงดังกล่าวให้กับคุณได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มสภาพคล่องให้กับชีวิต ธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิม

ตอบข้อสงสัยเงินสำรองในชีวิตของคนเราควรมีเท่าไหร่ดี

Image2

ข้อนี้ต้องแยกส่วนให้ชัดเจนเกี่ยวกับเงินเก็บสำรองเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกับการทำธุรกิจ เพราะมันเป็นคนละส่วน หากใครทำธุรกิจก็ต้องวางแผนอีกรูปแบบ แต่จะขออธิบายถึงคนทั่วไปในฐานะมนุษย์เงินเดือน คนทำงานฟรีแลนซ์ หรือแม้บางคนทำธุรกิจแต่แยกเงินลงทุนกับเงินเก็บเอาไว้ก็นำเอาหลักจัดการเงินตรงนี้ไปใช้ได้ลดความเสี่ยงเกิดปัญหาเงินไม่พอในอนาคต

สำหรับเงินสำรองในชีวิตของแต่ละคนต้องย้ำว่าไม่สามารถระบุเป็นจำนวนเงินชัดเจนได้ แต่ให้มองจากรายจ่ายในปัจจุบันเป็นหลัก จากนั้นก็พยายามเก็บหอมรอมริบทำให้มีเงินเหลือสำหรับเผื่อไว้ใช้อย่างน้อย 2 เดือนของรายจ่ายดังกล่าว เช่น หากคุณมีภาระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินรายจ่ายประจำพวกค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ตกเดือนละ 20,000 บาท เงินเก็บที่เอาไว้เผื่อเหลือหรือเผื่อใช้ยามฉุกเฉินในอนาคตก็ควรต้องมีไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท เป็นต้น

สำหรับเงินสำรองในชีวิตของแต่ละคนต้องย้ำว่าไม่สามารถระบุเป็นจำนวนเงินชัดเจนได้ แต่ให้มองจากรายจ่ายในปัจจุบันเป็นหลัก จากนั้นก็พยายามเก็บหอมรอมริบทำให้มีเงินเหลือสำหรับเผื่อไว้ใช้อย่างน้อย 2 เดือนของรายจ่ายดังกล่าว เช่น หากคุณมีภาระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินรายจ่ายประจำพวกค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ตกเดือนละ 20,000 บาท เงินเก็บที่เอาไว้เผื่อเหลือหรือเผื่อใช้ยามฉุกเฉินในอนาคตก็ควรต้องมีไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท เป็นต้น

ถามว่าทำไมจึงควรต้องมีเงินเก็บขั้นต่ำสำรองถึง 2 เท่าของรายจ่าย ก็ตามอธิบายเอาไว้ตั้งแต่เริ่มนั่นคืออนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอนวันดีคืนดีคุณอาจต้องออกจากงานแบบไม่ทันตั้งตัว หรือเกิดเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ ที่ต้องนำเงินเก็บส่วนนี้มาใช้ ซึ่งรายจ่ายที่พบเจอจะคงที่ในระดับหนึ่งจึงช่วยให้เงินที่เก็บยังสามารถชำระสิ่งเหล่านั้นโดยไม่เกิดหนี้สิน แล้วรีบหาวิธีจัดการเงินเพื่อให้งอกเงย หรือจัดการปัญหาให้จบโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ใช่แค่การมีเงินเก็บแค่ 2 เท่าของรายจ่ายแล้วเงินส่วนอื่นจะเอาไปใช้ทำอะไรตามสะดวก เพราะบางทีเงินเก็บจำนวนนี้อาจไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตและระยะเวลาแก้ปัญหาของทุกคน หากมีจังหวะเก็บเพิ่มเข้าไปอีกก็ทำได้เต็มที่ แยกบัญชีเป็นสัดส่วนแล้วพยายามไม่ยุ่งเกี่ยวกับหากไม่ใช่เหตุฉุกเฉินหรือเรื่องจำเป็นสำคัญมากที่สุด

วิธีง่าย ๆ ในการเก็บเงินสำรองด้วยแอปผู้ช่วยจัดการเงิน

เมื่อเข้าใจถึงความหมายและจำนวนเงินเบื้องต้นของเงินสำรองกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงวิธีจัดการเงินที่จะช่วยให้คุณมีเงินส่วนนี้ไว้ใช้จ่ายในกรณีเงินไม่พอหรือมีเหตุด่วนสำคัญ ซึ่งขอแนะนำแอปผู้ช่วยจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ที่จะมีฟีเจอร์เด่น ๆ ให้คุณวิเคราะห์และวางแผนการเงินของตนเองได้อย่างง่ายดายโดยแบ่งเป็น 2 ฟีเจอร์ ได้แก่

1. Cloud Pocket ฟีเจอร์ที่จะช่วยแยกกระเป๋าเงินในบัญชีของทุกคนออกเป็นใบต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ทั้งค่าใช้จ่ายและเงินเก็บ ซึ่งคุณจะแยกย่อยออกเป็นกี่กระเป๋าก็ทำได้ไม่จำกัด ช่วยให้เห็นภาพว่ากระเป๋าใบไหนเป็นอย่างไร มีเงินเพียงพอกับการวางแผนอนาคตหรือเผื่อเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือไม่ ซึ่งคุณอาจแบ่งกระเป๋าเงินสำรองออกจากกระเป๋าเงินเก็บอื่น ๆ แยกไว้ต่างหากก็ไม่ว่ากันแล้วพยายามคงเงินในกระเป๋านี้ให้อยู่ในเกณฑ์ขั้นต่ำคือรายจ่าย 2 เดือน ขณะที่เงินเก็บกระเป๋าอื่นก็ทำตามเป้าหมายของตนเองได้เต็มที่ เช่น เก็บเงินดาวน์รถ, เก็บเงินซื้อของขวัญให้แฟน, เก็บเงินเที่ยวต่างประเทศ เมื่อมีการแยกเป็นสัดส่วนก็แทบไม่กระทบกับเงินที่เผื่อสำรองไว้เลยแม้แต่นิดเดียว

2. Expense Summary อีกฟีเจอร์ของแอปผู้ช่วยจัดการเงิน MAKE by KBank ที่จะสรุปยอดค่าใช้จ่ายรายเดือนให้กับผู้ใช้งานว่าแต่ละเดือนคุณจ่ายเงินในส่วนไหนไปบ้าง แบ่งออกเป็น 6 หมวดหลัก ได้แก่ อาหาร, ชอปปิง, เดินทาง, ความบันเทิง, ชำระบิล, อื่น ๆ เมื่อถามว่าเกี่ยวข้องกับการเก็บเงินเผื่อสำรองอย่างไร สคำตอบคือ หากคุณเห็นเงินตรงไหนใช้เยอะเกินพอดีก็เบาในส่วนนั้นลงแล้วนำเงินที่เหลือไปใส่ในกระเป๋าเงินสำหรับสำรองใช้ในอนาคตแทน เท่านี้จะช่วยเพิ่มยอดเงินเก็บให้เกินกว่ารายจ่าย 2 เท่าได้ไม่ยากเลย

เมื่อเข้าใจกันแล้วว่าการมีเงินสำรองมันเพิ่มความอุ่นใจได้มากน้อยแค่ไหน และควรมีเท่าไหร่ดี วิธีสุดพิเศษที่จะทำให้ จัดการเงิน ตามแผนนี้ได้คงหนีไม่พ้นดาวน์โหลดแอปผู้ช่วยจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank มาไว้ในมือถือ จบปัญหาเงินไม่พอ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขไม่เครียดกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ มากเกินเหตุอีกด้วย

Back to Home