5 Steps ฝึกนิสัยวางแผนการเงินให้กับลูก ๆ - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

5 Steps ฝึกนิสัยวางแผนการเงินให้กับลูก ๆ

Banner นอกจากวิธีเลี้ยงดูด้านการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ให้การศึกษาที่ดีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรสอนลูก ๆ ตั้งแต่ยังเด็กนั่นคือ ฝึกนิสัยวางแผนการเงิน เพื่อให้เขาเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ ลดปัญหาการใช้จ่ายมือเติบ สุรุ่ยสุร่ายเกินตัว มีเงินเหลือเก็บ ในอนาคตได้แบบไม่ต้องเดือดร้อนใคร ซึ่งพ่อแม่คนไหนอยากเริ่มต้นสอนวิธีวางแผนการออมให้กับลูก ตั้งแต่การหยอดกระปุกไปจนถึงการใช้ผู้ช่วยอย่างแอปการจัดการเงิน MAKE by KBank ลองนำ 5 Steps ไปทำตามกันเลย

5 Steps ฝึกนิสัยวางแผนการเงินให้ลูก

Image2

1. บอกเล่าความสำคัญของเงินให้ชัดเจน

ก่อนจะเริ่มให้ลูกวางแผนการเงิน Step แรกพ่อแม่ควรอธิบายให้เขาเข้าใจว่า การมีเงินเก็บสำคัญมากแค่ไหน และถ้าหากไม่มีเงินเก็บจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ถ้าวันหนึ่งลูกป่วยแล้วไม่มีเงินเก็บ ก็ไม่มีเงินรักษา หรือถ้าอยากได้ของเล่นเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ไม่มีเงินเก็บเลยก็ไม่สามารถซื้อแบบเขาได้ เป็นต้น การให้เด็กได้ซึมซับกับวิถีเก็บเงินตั้งแต่ยังเล็กผ่านการบอกเล่าจะช่วยสร้างความเข้าใจ และพวกเขาพร้อมทำตามโดยไม่มีข้อแม้อื่นใดเพิ่มเติมอย่างแน่นอน

2. เริ่มทำให้เห็นและบอกให้ลูกทำตาม

สิ่งต่อมาหลังจากพ่อแม่อธิบายแล้วว่าการมีเงินเก็บสำคัญแค่ไหน ก็เข้าสู่ขั้นตอนแสดงให้เห็นถึงวิธีเก็บเงินแบบง่าย ๆ โดยพ่อแม่อาจเริ่มจากการหยอดกระปุกออมสิน แล้วให้ลูกหยอดตาม มีเงินเหลือจากค่าขนมไปโรงเรียนกี่บาทที่ไม่ได้ใช้แล้วในวันนั้นก็ให้หยอดเก็บไว้เรื่อย ๆ เมื่อกระปุกเต็มก็ลองมาแคะเปิดดู มั่นใจเลยว่าหากพวกเขาเห็นเงินของตนเองที่สามารถเก็บได้เยอะจะเสมือนเป็นกำลังใจชั้นยอดให้อยากเก็บเงินต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีหยุด นี่คืออีกเทคนิคอย่างง่ายเพียงแค่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วเด็กย่อมอยากทำตามเอง

3. สอนวิธีเก็บเงินที่ทันสมัยมากขึ้น

เมื่อลูกเริ่มโตพอที่จะใช้งานมือถือได้อย่างคล่องแคล่ว พ่อแม่ต้องเริ่มสอนเทคนิควางแผนการออมให้กับเขาผ่านวิธีอันแสนทันสมัยมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้ช่วยที่อยากแนะนำคือ “MAKE by KBank” แอปการจัดการเงินที่การันตีว่าใช้งานง่ายมาก แม้เป็นเด็กระดับประถมก็มีเงินเก็บเป็นของตนเองโดยไม่ต้องวุ่นวายใด ๆ ด้วยซ้ำ ขั้นตอนไม่ยุ่งยากให้พ่อแม่ดาวน์โหลดแอปนี้ไว้บนมือถือของลูก จากนั้นก็เริ่มสอนการใช้ทีละสเต็ป เน้นเฉพาะฟีเจอร์ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว

4. สอนฟีเจอร์สำคัญในการใช้งาน MAKE by KBank

มาถึงไฮไลท์สำคัญที่เชื่อว่าหากพ่อแม่ทุกคนสอนลูกใช้สำเร็จเมื่อไหร่ เขาจะเป็นคนมีนิสัยวางแผนการเงินชั้นยอดแบบไม่ต้องสงสัย วิธีง่าย ๆ ตามที่เกริ่นเอาไว้ในข้อก่อนหน้าคือ ให้ทำการสนฟีเจอร์สำคัญของแอปการจัดการเงินนี้ให้กับเด็ก ๆ โดยจะขอแนะนำ 2 ฟีเจอร์หลัก คือ

  •   Cloud Pocket ให้เขาลองเริ่มแบ่งกระเป๋าเงินของตนเองออกว่าในแต่ละวันต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เช่น ค่าขนม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าอาหารกลางวัน ค่างานกลุ่ม จากนั้นก็สอนให้สร้างกระเป๋าเงินขึ้นมาแล้วนำเงินที่พ่อแม่ให้แบ่งใส่กระเป๋านั้น ๆ ไปในแต่ละวัน ทั้งนี้ต้องเน้นว่าเวลาจ่ายเงินต้องให้ตรงกับกระเป๋าเรื่องนั้น อย่าเอาเงินส่วนอื่นไปจ่ายแทนเด็ดขาด พอแต่ละวันเหลือเงินเท่าไหร่ก็ให้โอนเข้าไปยังกระเป๋าเงินเก็บ ซึ่งพ่อแม่สามารถ “ล็อก Cloud Pocket” กระเป๋าใบนี้เพื่อไม่ให้ลูกนำเงินไปใช้เองโดยพละการอีกด้วย หากเขาได้ทำแบบนี้ทุกวันย่อมเคยชินเป็นนิสัยและมีเงินเก็บแน่นอน
    
  •   Expense Summary แม้เป็นเด็กก็สามารถทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองได้อย่างง่ายดาย เพราะฟีเจอร์นี้จะสรุปเงินที่พวกเขาได้จ่ายผ่านแอปในแต่ละเดือนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ เดินทาง อาหาร ช้อปปิ้ง บันเทิง ชำระบิล และอื่น ๆ ทุกสิ้นเดือนให้พ่อแม่ลูกนั่งอยู่ด้วยกัน อธิบายให้เห็นภาพว่าเดือนที่ผ่านมาใช้เงินเรื่องไหนเยอะเกินเหตุ พร้อมเตือนถ้าอยากมีเงินเก็บต้องใช้เรื่องนั้น ๆ น้อยลง มั่นใจว่าเด็กทุกคนเชื่อฟัง ยินดีทำตาม และยังเป็นวิธีวางแผนการออมไปในตัวด้วย
    

5. ให้ลูกลองสร้างเป้าหมายเงินเก็บด้วยตนเอง

ท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นการหยอดกระปุกหรือการเก็บเงินผ่าน MAKE by KBank ก็ตาม พ่อแม่ลองถามว่าเป้าหมายการเก็บเงินของเขาคือเรื่องไหน อยากซื้ออะไร อยากได้อะไร จากนั้นก็ให้เขาค่อย ๆ เก็บไปทีละนิดทีละหน่อย จนครบถ้วน พาเขาไปซื้อสิ่งที่ต้องการ วิธีนี้จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเมื่อเขาตั้งใจ เงินเก็บก็ถูกนำไปใช้ได้ดังปรารถนา ครั้งถัดไปก็อยากเก็บเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัยติดตัวในที่สุด

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับ 5 Steps อย่างง่ายใน การฝึกนิสัยวางแผนการเงิน ให้กับลูก ๆ จะเห็นว่าทั้งการเลือกใช้วิธีดั้งเดิมอย่างการหยอดกระปุก หรือจะสอนให้ลูกใช้แอปการจัดการเงิน MAKE by KBank หลักใหญ่ใจความอยู่ตรงการทำให้เขาเห็นว่าเงินเก็บสำคัญแค่ไหน สามารถซื้อในสิ่งที่อยากได้ด้วยความภาคภูมิใจ ไม่ต้องขอเงินพ่อแม่ เมื่อเขาเติบโตก็จะเชี่ยวชาญด้านเทคนิควางแผนการออม ไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือยให้พ่อแม่กังวล

กลับไปหน้าแรก