5 ข้อที่ควรรู้ก่อนเลือกไปเรียนต่อมหาลัยในต่างประเทศ
สำหรับคนที่มีแพลนเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยเฉพาะการเตรียมตัวในเรื่องของการเงิน เริ่มตั้งแต่เรียนรู้วิธีการเก็บเงิน เพื่อค่าเดินทาง ค่าเล่าเรียน ค่าที่พักอาศัย ค่าครองชีพอื่นๆ ศึกษาให้ดี ว่าค่าใช้จ่ายในปลายทางที่จะไปนั้นเป็นอย่างไร ต้องเตรียมเงินสำรองไว้เท่าไร สำหรับครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอ 5 ข้อควรรู้ สำหรับการเตรียมตัว เตรียมค่าใช้จ่ายในการไปเรียนต่อต่างประเทศโดยเฉพาะ
1.ค่าเดินทางไปยังเป้าหมาย
ก่อนอื่นเรื่องแรกที่คนอยากเรียนต่อต่างประเทศต้องรู้ก็คือค่าเดินทางไปยังประเทศเป้าหมาย นั่นก็คือค่าตั๋วเครื่องบินไปยังประเทศนั้นๆ รวมถึงค่าตั๋วเครื่องบินกลับจากประเทศนั้นๆ แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายแค่ 2 ครั้ง (ไปและกลับ) แต่ก็ถือเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างมาก ยิ่งไปไกลค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูง อย่างเช่นการไปเรียนต่ออเมริกาประเทศยอดนิยม ค่าเครื่องบินอย่างต่ำก็อยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท จากการสำรวจเบื้องต้นสำหรับค่าเดินทางไปยังประเทศต่างๆ มีดังนี้
- ค่าเครื่องบินไปอเมริกาเริ่มต้น ≈ 25,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปอังกฤษเริ่มต้น ≈ 20,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปออสเตรเลียเริ่มต้น ≈ 18,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปนิวซีแลนด์เริ่มต้น ≈ 65,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปแคนาดาเริ่มต้น ≈ 25,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปเยอรมันเริ่มต้น ≈ 14,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปสิงคโปร์เริ่มต้น ≈ 4,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปญี่ปุ่นเริ่มต้น ≈ 10,000 บาท
- ค่าเครื่องบินไปเกาหลีเริ่มต้น ≈ 19,000 บาท
ข้อมูลเหล่านี้รวบรวมมาจากการสำรวจเบื้องต้น เพื่อเดินทางไปยังประเทศและเมืองยอดนิยมสำหรับคนที่อยากเรียนต่อต่างประเทศ จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงพอตัว เพราะฉะนั้นผู้ที่คิดจะเรียนต่อต้องรู้วิธีการเก็บเงินที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการเดินทาง อาจจะใช้ตัวช่วยบางอย่าง เช่นการใช้ Cloud Pocket เพื่อสร้างกระเป๋าเงินย่อยเอาไว้แยกเก็บเงินในบัญชี เอาไว้สำหรับค่าเดินทางส่วนนี้ได้ สำหรับ Cloud Pocket ก็จะเป็นฟีเจอร์หนึ่งในแอปโอนเงินอัจฉริยะที่มีออกมาให้ใช้งานในปัจจุบัน
2.ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร
เรื่องที่คนอยากเรียนต่อต้องรู้อีกหนึ่งเรื่องก็คือเรื่องค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องจ่ายรายเทอม คนมักนิยมไปเรียนต่อปริญญาโท ก็จะมีระยะเวลาการศึกษาอยู่ที่ 2 ปีเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลักสูตรด้วย ยิ่งหลักสูตรมีระยะเวลานานเท่าไร ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งสูงตามไป แต่ถ้าหากหลักสูตรมีระยะเวลาสั้น ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน หากไม่เรียนต่อปริญญาโท จะมีพวกหลักสูตร Diploma หรือ Certificate ที่ผู้คนนิยมเรียนต่อต่างประเทศเช่นกัน ค่าใช้จ่ายจะประหยัดกว่าปริญญาโท สำหรับค่าเล่าเรียนจากการสำรวจเบื้องต้น มีดังนี้
- ค่าเล่าเรียนหลักสูตรปริญญาที่อังกฤษ ≈ 600,000-700,000 บาท/ปี
- ค่าเล่าเรียนหลักสูตรปริญญาที่ออสเตรเลีย ≈ 470,000-1,070,000 บาท/ปี
- ค่าเล่าเรียนหลักสูตรปริญญาที่นิวซีแลด์ ≈ 460,000-912,000 บาท/ปี
- ค่าเล่าเรียนหลักสูตรปริญญาที่แคนาดา ≈ 650,000-700,000 บาท/ปี
ค่าเล่าเรียนที่แสนโหดสำหรับการเรียนต่อ ทำให้ต้องมีวิธีการเก็บเงินที่ดีมากๆ มีวินัยในเรื่องของการค่าใช้จ่ายสูง และต้องมีแผนการเก็บเงินที่สมเหตุสมผล เพื่อให้มีเงินเหลือในการจ่ายค่าเล่าเรียนต่อเทอม การออมเงินสำหรับค่าเล่าเรียนก็ใช้ Cloud Pocket ช่วยเก็บได้เช่นกัน ดังนั้นแนะนำว่าถ้าอยู่ในช่วงเก็บเงิน ให้โหลด แอปโอนเงินอัจฉริยะ อย่าง Make by KBank เก็บไว้ได้เลย
3.ค่าครองชีพในเมืองนั้น
ค่าครองชีพในเมืองนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมาก และเป็นค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นภาระใหญ่เลยทีเดียว โดยในแต่ละประเทศค่าครองชีพจะแตกต่างกัน แม้แต่ในประเทศเดียวกันแต่ต่างเมืองออกไป ค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันด้วย การเลือกที่พักอาศัย หากใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกมาก อาทิ สถานีรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ ค่าครองชีพก็จะสูงมาก แต่ถ้าเลือกที่อยู่ไกลออกไปนิดหน่อย ค่าครองชีพก็จะต่ำลงแม้อยู่ในเมืองเดียวกัน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมีรายละเอียดที่เยอะมาก เป็นเรื่องที่คนอยากเรียนต่อต่างประเทศต้องศึกษาให้ดี และนำข้อมูลส่วนนี้มาวางแผนการเงิน เพื่อหาวิธีการเก็บเงินที่เหมาะสม
สำหรับการจัดการเรื่องค่าครองชีพอาจเอาบันทึกรายรับ-รายจ่ายปกติมากางดู ว่าแต่ละเดือนมีอะไรบ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำ และลองศึกษาดูว่าที่ประเทศหรือเมืองปลายทางที่จะไป ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นอยู่ที่ประมาณเท่าไร จะเห็นว่าการบันทึกรายรับ-รายจ่ายมีประโยชน์
4.การทำงาน Part-Time ที่ประเทศนั้น
การทำงาน Part-Time เป็นวิธีการเก็บเงินที่ดีมากๆ สำหรับนักเรียนต่างชาติ เพราะการทำงาน Part-Time จะช่วยให้มีรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากมีระบบการจัดการเงินที่ดีมากๆ และมีการทำงาน Part-Time ควบคู่กันไปด้วย ดีไม่ดีอาจมีเงินเก็บเหลือกลับมาด้วยซ้ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเมืองที่อาศัย มหาวิทยาลัยที่เลือกเรียน หลักสูตรที่เลือกเรียน และอื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปค่อนข้างมาก
อีกเรื่องที่สำคัญที่ต้องศึกษาคือเรื่องของกฎหมายการอนุญาตให้นักเรียนต่างชาติทำงาน Part-Time ของแต่ละประเทศ อย่างในอเมริกาหากถือวีซ่านักเรียนอยู่ จะไม่สามารถทำงาน Part-Time ได้ และหากพบการละเมิด นักเรียนจะถูกเพิกถอนวีซ่านักเรียนออกไป ส่วนประเทศออสเตรเลียจะอนุญาตให้นักเรียนต่างชาติทำงาน Part-Time ได้ 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์ และถ้าหากมีบางสายงานที่ขาดแคลนมากๆ ทางการอาจเพิ่มชั่วโมงการทำงานให้ด้วย โดยในออสเตรเลียค่อนข้างสนับสนุนให้นักเรียนต่างชาติทำงาน Part-Time และเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนนิยมไปเรียนต่อที่นั่น
5.วิธีการเก็บเงินเพื่อไปสู่เป้าหมาย
สุดท้ายนี้ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือวิธีการเก็บเงิน เพื่อพิชิตเป้าหมายในการเรียนต่อต่างประเทศให้สำเร็จ ก่อนอื่นเลย ผู้ที่แผนเรียนต่อต่างประเทศ ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายอย่างมากอาจจะต้องบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์จริงจัง ว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนสามารถตัดออก หรือสามารถลดลงได้ ก็ให้ปฏิบัติตามนั้น เพื่อให้เหลือเงินเก็บที่เพิ่มมากขึ้น สามารถเก็บเงินก้อนได้สำเร็จ
จะเห็นว่าเรื่องค่าใช้จ่ายสำคัญมากในการเรียนต่อต่างประเทศ ดังนั้นวิธีการเก็บเงินที่ดี เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ฝันเป็นจริง ซึ่งปัจจุบันก็มีตัวช่วยมากมายอย่าง แอปคนรุ่นใหม่ โอนเงินอัจฉริยะที่มาพร้อมฟีเจอร์หลากหลาย ช่วยบริหารการเงิน อย่างเช่น Cloud pocket ที่ทำให้สามารถแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมได้ ออมเงินสำหรับใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นได้ และยังมีการบันทึกการทำธุรกรรมที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้ง่าย อำนวยต่อการบันทึกรายรับ-รายจ่ายให้ง่ายขึ้นด้วย