ทริคเก็บเงินซื้อของตามเป้าหมายฉบับ 3 เดือน - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

ทริคเก็บเงินซื้อของตามเป้าหมายฉบับ 3 เดือน

Banner สำหรับน้อง ๆ ในวัยเรียนการจะเก็บเงินซื้อของสักชิ้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะรายได้ของแต่ละคนไม่ได้สูงมากนัก ส่วนใหญ่ก็เป็นเงินที่พ่อแม่ให้เอาไว้ใช้ แต่มันก็เป็นเรื่องปกติของชีวิตที่ย่อมเกิดความอยากได้อยากมีกับสิ่งของบางอย่าง ซึ่งใครที่เล็งเป้าหมายเอาไว้ชัดเจนก็ต้องรู้ เทคนิคแบ่งเงินขั้นเทพ จากค่าขนมที่ตนเองได้รับเพื่อซื้อสิ่งนั้นให้จงได้ คำถามคือจะทำยังไงดีนะ? แล้วการสร้างบัญชีเก็บสนุกต้องทำยังไง? ขอแนะนำทริคเก็บเงิน วัยเรียน ทำได้ตามเป้าจริงด้วยระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน!!!

ไม่ยากอย่างที่คิดกับทริคเก็บเงินซื้อของในวัยเรียนได้จริงภายใน 3 เดือน

Image2

1. รู้มูลค่าของสิ่งที่อยากได้แล้วมองรายรับของตนเอง

สิ่งแรกสำหรับน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาเมื่อมีสิ่งไหนที่ตนเองอยากได้ต้องเริ่มจากวางแผนให้ชัดและรู้ว่าตนเองต้องเก็บเงินในแต่ละเดือนกี่บาท หลักการอย่างง่ายคือ ต้องสืบเสาะข้อมูลของสิ่งดังกล่าวว่าราคาเท่าไหร่ แอบกระซิบนิดว่าพยายามเลือกวิธีที่ถูกที่สุด หาร้านที่คุ้มค่ากับการจ่ายเงิน เมื่อรู้จำนวนเงินที่ต้องเก็บเรียบร้อยคราวนี้ก็กลับมามองรายรับของตนเองว่าแต่ละเดือนได้เงินเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ล็อกไว้ตายตัวกี่บาท เมื่อมองภาพรวมได้ครบถ้วนก็จะเห็นเงินที่เหลือสำหรับเก็บ จากนั้นก็เฉลี่ยเลยว่า 3 เดือนต้องเก็บกี่บาท เงินเหลือพอหรือไม่ เพียงเท่านี้ขั้นตอนแรกของการเก็บเงินซื้อของก็ไม่ยากอย่างที่คิด

2. แยกบัญชีเงินเก็บเอาไว้ให้ชัดเจน

เทคนิคแบ่งเงินขั้นเทพที่อยากบอกต่อสำหรับเด็กวัยเรียนทุกคนหากใครกลัวว่าเงินที่อุตส่าห์แยกเก็บเอาไว้จะถูกใช้ปะปนกันมั่ว ขอแนะนำให้แยก “บัญชีเก็บสนุก” เอาไว้ต่างหาก อย่างไรก็ตามบางคนอาจมองว่าแค่จะเก็บเงินซื้อของภายใน 3 เดือนถึงขั้นต้องเปิดบัญชีธนาคารใหม่เลยหรือ คำตอบคือไม่ต้องทำแบบนั้นก็ได้เพียงแค่มีแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพราะแอปตัวนี้จะมีฟีเจอร์ที่ชื่อ Cloud Pocket ซึ่งสามารถแยกกระเป๋าเงินออกได้ไม่จำกัด

จากนั้นเมื่อน้อง ๆ ได้รับเงินเข้ามาแล้วก็แยกออกเป็นกระเป๋าค่าใช้จ่ายและเงินเก็บตามสะดวก เช่น กระเป๋าค่าเช่าหอ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต, กระเป๋าค่าอาหาร, กระเป๋าสำหรับใช้ทำกิจกรรม ส่วนกระเป๋าบัญชีเก็บสนุกก็แยกออกเป็นอีกใบแล้วใส่เงินเก็บเข้าไปทีละเดือน รับรองเมื่อมีการวางแผนมาอย่างดีต้องเก็บเดือนละเท่าไหร่บวกกับการแยกเงินเป็นสัดส่วนชัดเจนแบบนี้ จะไม่มีปัญหานำเงินมาใช้ผิดพร้อมทำได้ตามเป้าหมายสำหรับเก็บเงินซื้อของอย่างแน่นอน

3. มีกระปุกสำหรับใส่เศษเงินที่ใช้เหลือในแต่ละวัน

อีกทริคเก็บเงิน วัยเรียนยอดนิยมและเชื่อว่าทำกันมาหลายยุคหลายสมัยมาก ๆ ต้องยกให้กับการมีกระปุกน้อย ๆ สักใบไว้ในห้อง เมื่อเหลือเงินเป็นเศษหลังใช้จ่ายมาทั้งวันก็หยอดเก็บไว้ อาจเป็นเหรียญหรือแบงก์ 20 แบงก์ 50 ไม่ว่ากัน จะช่วยเพิ่มเงินเก็บให้มากขึ้น และทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เร็วกว่าเดิม การนำเทคนิคนี้มาเพิ่มไม่แน่ว่าอาจไม่ถึง 3 เดือน ก็สามารถนำเงินไปซื้อสิ่งที่ตนเองอยากได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งใครมีสิ่งที่อยากซื้อบ่อย ๆ ก็แนะนำว่าให้เลือกใช้กระปุกแบบมีฝาเปิดก็ได้ ไม่ต้องถึงขนาดทุบทิ้งตลอด มันสิ้นเปลืองเงินที่ต้องซื้อใหม่โดยใช่เหตุ เพียงแค่ต้องมีวินัยอย่าหยิบเงินตรงนั้นมาใช้ก็พอแล้ว

4. ประหยัดแต่ไม่ใช่การอดหรือทำชีวิตให้ลำบาก

ด้วยวัยเรียนที่ยังมีรายได้ไม่สูงนัก นอกจากการทำบัญชีเก็บสนุกเพื่อแยกสัดส่วนของเงินสำหรับซื้อของแล้ว อีกทริคเก็บเงิน วัยเรียนสิ่งที่อยากแนะนำคือพยายามเซฟรายจ่ายของตนเองให้มากที่สุด ประหยัดเงินเข้าไว้เพื่อจะได้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้นกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ขอย้ำว่าการประหยัดไม่ใช่การอดหรือการทำให้ชีวิตลำบาก เช่น ทานข้าวแค่วันละ 1 มื้อ, การดื่มแต่น้ำเปล่า แบบนี้ไม่ใช่เทคนิคแบ่งเงินสำหรับเก็บไว้ซื้อของที่ถูกต้อง เพราะเอาเข้าจริงของเหล่านั้นแม้ยังไม่ได้ภายใน 3 เดือน ก็ขยายเวลาต่ออีกเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิดมาก ทำชีวิตในแต่ละวันให้เหมาะสมเอาไว้ก่อน เพราะยังไงร่างกายและชีวิตของทุกคนก็สำคัญกว่าอยู่แล้ว

การประหยัดในที่นี้อาจใช้วิธีเดินจากหอพักไปมหาวิทยาลัยจากเดิมที่เคยนั่งแต่รถรับจ้าง, การเลือกทานอาหารร้านธรรมดา ราคาไม่สูง, เปลี่ยนจากการดื่มน้ำอัดลมมาเป็นน้ำเปล่า รวมถึงการลดเวลาปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนลงบ้างก็จะสามารถนำเงินส่วนดังกล่าวมาแยกใส่บัญชีเก็บสนุกและสามารถเก็บเงินซื้อของได้ตามเป้าแล้ว

เป็นอย่างไรกันบ้างกับทริคเก็บเงิน วัยเรียนสำหรับน้อง ๆ ทุกคนที่มีเป้าหมายอยากเก็บเงินซื้อของให้กับตนเองภายในระยะเวลา 3 เดือน จะเห็นเลยว่าหากมีความตั้งใจจริง รู้จักวางแผน มีเทคนิคแบ่งเงินที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แถมเมื่อบวกกับการสร้างบัญชีเก็บสนุกผ่านฟีเจอร์ Cloud Pocket ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก็จะทำให้มองเห็นตัวเลขชัดเจนขึ้น มีกำลังใจในการเก็บจนครบถ้วนแล้วนำไปซื้อในสิ่งที่ตนเองปรารถนามาแสนนาน ช่วยฝึกการ สร้างนิสัยประหยัดอดออม ซึ่งเป็นเรื่องดีในอนาคตอีกด้วย

กลับไปหน้าแรก