อยากได้รถคันแรก ต้องเก็บเงินซื้อรถอย่างไร - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

อยากได้รถคันแรก ต้องเก็บเงินซื้อรถอย่างไร

save-money-for-your-first-car.jpg

ถ้าคุณเป็นคนที่เริ่มท้อแท้ หรือเหนื่อยกับการเดินทางไปไหนมาไหน ด้วยระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทย แน่นอนว่าวิธีเก็บเงินซื้อรถเพื่อให้มีรถส่วนตัวไว้ขับขี่ คงเป็นอีกหนึ่งความฝันที่คุณอยากให้กลายเป็นความจริงในเร็ววัน

แต่การเก็บเงินซื้อรถนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ และต้องเตรียมความพร้อมพอสมควร เพราะนอกจากความสะดวกสบายแล้ว การมีรถส่วนตัวย่อมตามมาด้วยภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งทำให้คุณต้องมีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ และจริงจังก่อนการตัดสินใจ

8 วิธีเก็บเงินซื้อรถ ควรทำอะไรบ้าง

เพราะการมีรถคันแรกไม่ใช่เรื่องง่าย คุณจึงต้องมีวิธีเก็บเงินดาวน์รถที่เหมาะสมกับการเก็บเงินซื้อรถ ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะใช้วิธีที่แตกต่างกัน ตามไลฟ์สไตล์และสถานะการเงินในชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มรายได้เสริม สำหรับคนที่ไม่มีเงิน ซึ่งจะทำให้เก็บตังซื้อรถได้ โดยสิ่งสำคัญคือ ต้องมีแผนการเงินชัดเจน เพื่อให้ความฝันที่จะเป็นเจ้าของรถไม่ไกลเกินเอื้อม

มาดูว่า มียุทธวิธีเด็ดๆ อะไรบ้าง ที่สามารถทำตามได้จริง เพื่อให้การเก็บตังค์ซื้อรถ ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถอีกต่อไป

1. ตั้งเป้าหมายรถที่อยากได้

การเก็บเงินซื้อรถ ควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายรถที่อยากได้ เพราะการมีรุ่นรถในฝัน ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีการวางแผนที่ชัดเจน แต่ยังเป็นแรงผลักดัน ให้มีความมุ่งมั่นในการเก็บเงิน อีกทั้งยังช่วยสร้างความรู้สึกที่ว่า อยากไปถึงเป้าหมาย และคุ้มค่าที่จะพยายามในช่วงเวลาต่อจากนี้

โดยเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น นอกจากจะดูจากความชื่นชอบส่วนตัวแล้ว ก็อาจพิจารณาเรื่องราคาของรถ และความเหมาะสมกับสถานะการเงินควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้วิธีเก็บตังซื้อรถที่วางแผนไว้ไม่หนักจนเกินไป

2. เช็กและเปรียบเทียบราคารถ

เมื่อคุณมีเป้าหมายรถที่อยากได้ในใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ควรเริ่มทำการเช็ก และเปรียบเทียบราคารถ เพราะการเลือกรถให้คุ้มค่า ในราคาที่ดีที่สุด ไม่ใช่เรื่องง่าย

โดยคุณควรพิจารณา และวิเคราะห์ราคาของแหล่งซื้อขายแต่ละที่ ด้วยการเปรียบเทียบเงื่อนไข ส่วนลด ของแถม การบริการหลังการขาย ไปจนถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

หากเป็นไปได้ ก็ควรเดินทางไปดูรถและทดลองขับ เพื่อให้มั่นใจว่ารถที่อยากได้ และศูนย์ที่คุณพูดคุยอยู่นั้น มีความคุ้มค่า และเหมาะกับการเก็บเงินซื้อรถจริงๆ

3. อยากจ่ายเงินด้วยรูปแบบไหน

การจ่ายเงินซื้อรถมีหลายรูปแบบให้เลือก ทั้งเงินสดก้อนเดียวจบ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณหลักเงินแสน หรือจ่ายเงินดาวน์ แล้วผ่อนรายเดือน ซึ่งคุณควรพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสม

โดยหากคุณเก็บเงินซื้อรถ จนมีเงินสดมากพอ การจ่ายเงินเต็มจำนวนอาจเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สิน ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม แต่ถ้าต้องการแบ่งการจ่ายเงิน วิธีผ่อนชำระก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม คุณควรคำนึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายรายเดือนให้ดี เพื่อให้สามารถจ่ายเงินผ่อนได้ตามกำหนดโดยไม่มีปัญหาในอนาคต

4. ศึกษาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อรถ

เมื่อคุณกำลังเก็บเงินซื้อรถ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ การศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ และรอบด้าน เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้าในกรณีที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ค่าต่อทะเบียนประจำปี ค่าบำรุงรักษา เพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่ดี ไปจนถึงค่าประกันรถ

ซึ่งการระบุค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนการวางแผน ซึ่งจะทำให้คุณมีการเก็บเงินที่มากเพียงพอ และพร้อมรับกับจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การมีรถส่วนตัวไว้ในครอบครองเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง

5. วางแผนการเงินอย่างรอบคอบ

เมื่อคุณมีเป้าหมายเก็บเงินซื้อรถแล้ว หลังจากนั้น ก็ควรวางแผนการเงินอย่างรัดกุม โดยอาจเริ่มจากการประเมินตัวเอง และกำหนดเงินที่สามารถออมได้ในแต่ละเดือน ด้วยการพิจารณารายรับรายจ่ายทั้งหมด เพื่อให้รู้ภาพรวมของรายได้ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

โดยการวางแผนการเงินที่ดี จะทำให้คุณสามารถกำหนดได้ล่วงหน้าว่า จะเก็บเงินจำนวนเท่าไรในแต่ละเดือน ซึ่งเมื่อคุณมีแผนการเงินที่รอบคอบแล้ว ก็จะมีความมั่นใจในการเก็บเงินซื้อรถ และไม่ต้องกังวลเรื่องการเงินในอนาคตอีกด้วย

6. จัดการรายรับ-รายจ่ายของตนเองให้ดี ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นลง

เมื่อได้เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเก็บเงินออกรถแล้ว อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้คือ การมีวินัยในการจัดการกับรายรับ-รายจ่ายของตัวเอง และลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

เพราะถ้าคุณไม่มีการบันทึกรายการการเงินเหล่านี้ อาจเกิดปัญหาตามมาได้อย่างไม่คาดคิด เพราะถ้าชีวิตมาถึงจุดที่จำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ คุณอาจพบว่า มีเงินสำรองไม่เพียงพอก็เป็นได้

ซึ่งการจัดการรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นนั้น จะช่วยให้คุณมองเห็นสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน และสามารถเก็บเงินซื้อรถในอนาคตได้ตามที่คาดหวัง

7. ฝึกออมเงินให้จำนวนเท่ากับค่าผ่อนรถต่อเดือน

how-to-save-money-for-your-first-car.jpg

เพราะการเก็บเงินซื้อรถ ไม่ใช่จะสิ้นสุดเมื่อซื้อแล้ว แต่การซื้อรถเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่จะต้องผ่อนต่อ เป็นเวลาอีกประมาณ 4-7 ปี

หากคุณต้องการบริหารจัดการเงินในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเริ่มตั้งแต่ตอนวางแผนเก็บเงินซื้อรถ โดยอาจใช้วิธีออมเงินให้เท่ากับค่าผ่อน เพื่อเป็นการซ้อมมือ ซึ่งคุณอาจถามสอบถามกับบริษัทรถเพื่อให้มีข้อมูลชัดเจน

ที่สำคัญ ยังสามารถใช้ตัวช่วยอย่างแอป MAKE by KBank ที่มีฟีเจอร์ Cloud Pocket ซึ่งจะช่วยให้คุณแบ่งออมเงินในส่วนนี้ได้อย่างสะดวกและมั่นใจ

8. แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนกองทุนรวมหรือเข้าบัญชีฝากประจำ

สำหรับคนที่ต้องการทำให้เงินงอกเงยเร็วขึ้น อาจแยกเงินบางส่วนที่ไม่ใช่เงินดาวน์รถ ไปลงทุนในกองทุนเพื่อรับผลตอบแทน แต่ต้องไม่ลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจ

นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธีที่ทำได้คือ การฝากเงินในบัญชีฝากประจำ เพื่อรับดอกเบี้ย ซึ่งคุณสามารถอิงจากค่างวดรถเป็นเกณฑ์ และฝากเงินเข้าบัญชีทุกเดือนได้เลย

ซึ่งวิธีนี้ ไม่เพียงแต่สร้างวินัยในการออมเงินเท่านั้น แต่ยังทำให้การเก็บเงินซื้อรถ มีโอกาสต่อยอดได้มากขึ้นด้วย

ขั้นตอนการคำนวณเงินผ่อนจ่าย

เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างว่า คุณอยากซื้อรถราคา 529,000 บาท และเก็บเงินซื้อรถ จนกระทั่งสามารถเก็บเงินดาวน์รถได้ 25% หรือ 132,250 บาท นั่นแปลว่า คุณจะกู้เพิ่มอีก 396,750 บาท ภายใต้เงื่อนไขของธนาคารที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.99% ต่อปี โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระอยู่ที่ 5 ปี หรือ 60 เดือน

โดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้

เงินผ่อนต่อเดือน = [วงเงินที่กู้ + (วงเงินที่กู้ × อัตราดอกเบี้ย % × จำนวนปีผ่อนชำระ)] ÷ จำนวนเดือนที่ต้องผ่อน

เมื่อคำนวณตามสูตรนี้แล้ว คุณจะต้องผ่อนเดือนละ 7,270 บาท นั่นเอง

ปูเส้นทางสู่การมีรถในฝันกับ “แอป MAKE by KBank”

ถ้าหากคุณกำลังเตรียมตัว เพื่อเก็บเงินซื้อรถแล้วล่ะก็ ขอแนะนำแอปที่ช่วยเตรียมความพร้อม และทำให้เส้นทาง ไปสู่การมีรถในฝันของคุณราบรื่นมากขึ้น นั่นคือ "แอป MAKE by KBank"

ซึ่งแอปนี้จะมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้การเก็บเงินซื้อรถ กลายเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป และคุณจะไม่ต้องสับสน หรือวุ่นวายกับการจัดการเงินก้อนอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

ตามมาดูกันเลยว่า ฟีเจอร์เด็ดๆ ในแอปเก็บเงิน MAKE by KBank มีอะไรบ้าง และจะช่วยเตรียมเงินให้กับความฝันเรื่องรถของคุณได้อย่างไร

1. Cloud Pocket

Cloud Pocket ในแอป MAKE by KBank เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณจัดการเงินได้แบบง่ายๆ และเป็นระบบ ด้วยคุณสมบัติการแยกกระเป๋าเงินสำหรับเป้าหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินซื้อรถ หรือแม้แต่สำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไป

ซึ่งด้วยฟีเจอร์เหล่านี้ จะทำให้คุณรู้ว่า ในแต่ละส่วนมีเงินอยู่เท่าไหร่ เพื่อให้ควบคุมการใช้จ่าย รวมถึงปรับแผนการออมในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ได้อย่างถูกต้อง

ส่วนหลังจากซื้อรถเรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถเปลี่ยนกระเป๋าใน Cloud Pocket ที่เป็นเงินดาวน์ เป็นกระเป๋าเก็บเงินผ่อนค่ารถในแต่ละเดือนแทน

2. Expense Summary

ขอแนะนำอีกหนึ่งฟีเจอร์สุดล้ำบน MAKE by KBank ที่เหมาะสำหรับคนที่เก็บเงินซื้อรถครั้งแรก นั่นคือ ฟีเจอร์ Expense Summary

โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยในการสรุป เพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละ Cloud Pocket โดยแสดงออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้จ่าย และยังมีความสะดวกสบาย ในเวลาที่เรียกดูข้อมูลย้อนหลังอีกด้วย

ด้วยคุณสมบัติที่ว่านี้ คุณจึงสามารถปรับการใช้เงินให้เหมาะสม หรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อนำเงินไปใช้กับการดาวน์รถ หรือผ่อนชำระได้อย่างคล่องตัว

สรุปการเก็บเงินซื้อรถ

สำหรับการเก็บเงินซื้อรถนั้น แน่นอนว่าการมีแผนการเงินที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ เริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมาย จากนั้นก็บริหารจัดการรายรับ-รายจ่าย เพื่อปรับวิธีใช้เงินให้เหมาะสม และสร้างความมั่นใจในการผ่อนชำระรถในระยะยาว

โดย "MAKE by KBank" ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ดี เพราะด้วยฟีเจอร์ที่มีในแอป จะทำให้คุณสามารถปรับแผนการเงิน และเตรียมเงินซื้อรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญ ยังช่วยลดความยุ่งยากในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเงิน หรือการเช็กข้อมูลย้อนหลัง เพื่อไปสู่การเก็บเงินออกรถในฝันได้ตามเป้าหมาย

กลับไปหน้าแรก