วิธีจัดการเงินให้มีเงินเก็บระยะยาวสำหรับมนุษย์เงินเดิอน - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

วิธีจัดการเงินให้มีเงินเก็บระยะยาวสำหรับมนุษย์เงินเดิอน

Banner ในตอนที่เรายังเป็นเด็ก น่าจะเคยได้ยินผู้ปกครองเล่าให้ฟังว่า สมัยที่พ่อแม่ยังเด็กนั้น ก๋วยเตี๋ยวชามละ บาท 2 บาท ผ่านมา 20-30 ปี ก๋วยเตี๋ยวถึงจะกลายเป็นชามละ 5 บาท 10 บาทขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ที่น่าสังเกตคือ ช่วงที่เราเริ่มโต ราคาก๋วยเตี๋ยวก้าวกระโดดจากชามละ10 บาท มาเป็น 50 บาทได้ในเวลาไม่กี่ปี การกินก๋วยเตี๋ยวในวัยเด็กของพ่อแม่ เริ่มดูน่าอิจฉาขึ้นมาทันที

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเรากำลังพูดถึงอะไรกันแน่ ก็แน่นอนล่ะ การที่เราพูดถึงการก้าวกระโดดของราคาก๋วยเตี๋ยวนั้น เป็นการบอกเราเป็นนัย ว่าในอนาคตข้างหน้า วัยรุ่นอย่างเราอาจต้องพบกับค่าครองชีพที่แพงขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นการเตรียมตัวเรื่องเงินก่อนเข้าวัย 30 จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีของตัวเราเอง

เราเชื่อว่าวัยรุ่น วัยเรียนหลายคนในยุคนี้ อยากมีเงินเก็บกันมากขึ้นก่อนที่จะเข้าสู่วัยทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนอายุ 30 ซึ่งในยุคสมัยที่ความไม่แน่ไม่นอนหลาย ๆ อย่างคืบคลานเข้ามาไม่หยุดหย่อน การมีเงินก้อนติดตัวไว้ถือเป็นความอุ่นใจอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน แต่แน่นอนว่า เมื่อเราอยากมีเงินเก็บเราก็ต้องหาวิธีจัดการเงินให้ได้ประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้น ลองมาดูวิธีการจัดการเงินให้ได้ผล ที่เราควรทำก่อนอายุ 30 กันดีกว่า

สำรวจพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง

Image2 ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ที่วัยรุ่นอย่างเราจะต้องรู้จักการใช้เงินของตัวเองก่อน ไม่อย่างนั้น การจัดการเงินของเราอาจจะยุ่งยากเกินกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้ หากเราไม่รู้ว่าปกติเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง และเรามีรายรับจากทางไหนบ้าง ดังนั้น ก่อนที่จะไปจัดการเงินจึงต้องรู้เรื่องนี้ก่อน โดยเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดคือลอง ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไปสัก 1 เดือนก่อนที่จะเริ่มจัดการเงินอย่างจริงจัง เมื่อเราเห็นภาพรวมการใช้เงินของเราแล้ว เราจะสามารถพิจารณาได้ว่า ค่าใช้จ่ายบางอย่างเราสามารถตัดออกได้หรือไม่ เช่นถ้าหากค่าเสื้อผ้าเคยซื้ออาทิตย์ละครั้ง อาจเปลี่ยนมาเป็นวางแผนว่าจะซื้อ เดือนละครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง หรือถ้าให้ดีคือ ซื้อเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น เมื่อชำรุดแล้ว หรือใช้ได้คุ้มค่าแล้วจึงค่อยซื้อตัวใหม่ การซื้อของใช้ที่ไม่จำเป็นมากนัก อาจจะต้องย้ายจากการเป็นของให้ความสุขประจำวัน ไปเป็นรางวัล เช่นหากเก็บเงินได้เท่านี้ ถึงจะซื้อของชิ้นนี้ได้ แค่นี้ก็จะทำให้เราควบคุมพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราโดยที่ไม่จำเป็นต้องเลิกซื้อของที่เราเคยซื้อ แค่ยืดเวลาในการซื้อของแต่ละชิ้นให้นานมากขึ้น เท่านั้นเอง

สำคัญคือการทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินใหม่โดยไม่ทำให้รู้สึกลำบากในการปรับเท่าใดนัก เพราะถ้าหากอะไรที่ทำแล้วฝืน จะทำให้เรื่องถัดไปกลายเป็นเรื่องยากในทันที แต่ถ้าอยากให้การทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองเป็นเรื่องง่าย ลองใช้ฟังก์ชัน Expense Summary ของ MAKE by KBank ในการสรุปค่าใช้จ่ายที่เราใช้จ่ายไปในแต่ละวันดู รับรอง ได้เห็นการใช้เงินของตัวเองแบบเข้าใจง่ายและสะดวกอีกด้วย

สร้างนิสัยการออมก่อนใช้

เรื่องนี้สำคัญมากในการจัดการเงินของวัยรุ่นอย่างเรา ๆ เพราะถ้าหากเราเริ่มสร้างนิสัยการออมก่อนใช้ตั้งแต่ยังเด็กๆ นิสัยนี้จะติดตัวเราตลอดไป เพราะการเห็นยอดเงินในบัญชีที่มีมากๆนั้นถือเป็นความสุข และความมั่นคงในชีวิตอย่างหนึ่ง ดังนั้น เราจึงควรเริ่มบังคับตัวเองให้แบ่งเงินที่ได้มาส่วนหนึ่งมาเก็บก่อน แรกๆ อาจจะทำยากหน่อย แต่ถ้าทำได้ การใช้เงินของเราจะเป็นระบบระเบียบมากทีเดียว

การออมก่อนใช้ ทำได้โดยการแบ่งรายรับเราออกมาเป็นส่วนๆ โดยคำนวณว่า รายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ รายจ่ายที่จำเป็นได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ รายจ่ายที่ไม่จำเป็นแต่เพื่อความบันเทิง ความสุขในชีวิต เช่น ท่องเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง ช็อปปิ้ง แต่อย่าแบ่งให้ส่วนนี้หมดล่ะ ต้องไม่ลืมที่จะแบ่งส่วนที่จะเก็บไว้ด้วยส่วนหนึ่ง จากนั้น แยกเงินเก็บไปเลย แต่ถ้าเรารู้สึกว่าการแยกเก็บเงินมันยุ่งยากมากล่ะก็ ลองเปิดแอปพลิเคชั่น MAKE by KBank ตัวช่วยจัดการเงินที่มี Cloud Pocket สร้างกระเป๋าย่อยเพื่อแยกเงินในบัญชีของเราออกไว้เป็นส่วน ๆ โดยที่ไม่จำกัดกระเป๋า ทีนี้เราจะแบ่งเงินออกเป็นหลายๆส่วนก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

หลีกเลี่ยงการสร้างหนี้สินตั้งแต่ยังไม่มีเงินเก็บ

นี่เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดในการใช้เงิน อย่านำเงินในอนาคตมาใช้ อย่าพึ่งใช้บัตรเครดิต อยากได้อะไรให้ลองเก็บเงินซื้อแทน เวลาเก็บเงินก็อย่าเก็บมากเกินพอดี เพราะอาจทำให้การเก็บเงินมากระทบชีวิตประจำวันของเรา ทีนี้จะกลายเป็นไม่อยากเก็บเงินอีกต่อไป

ในตอนที่เรายังไม่สามารถเก็บเงินให้เป็นนิสัยได้ ต้องเริ่มวางแผนล่วงหน้าจัดการเงินเก็บง่าย ๆ เริ่มที่การเริ่มตรวจสอบความต้องการของคุณว่า อยากมีเงินเก็บ เท่าไร ในระยะเวลาใด และวางแผนใช้เงินต่าง ๆ ให้ถูกต้อง

ถ้าหากเราเริ่มทำวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดได้จนติดเป็นนิสัยแล้วล่ะก็ เงินเก็บมากมายจะอยู่ในกระเป๋า เราก่อนอายุ 30 แน่นอน แล้วอย่าลืม ตัวช่วยจัดการเงิน MAKE by KBank แอปของคนรุ่นใหม่ที่จะมาทำให้การจัดการเงินในบัญชีของคุณเป็นเรื่องสนุก !

กลับไปหน้าแรก