เคล็ดลับจัดการเงิน ให้มีเงินเก็บ แสนแรก ในเศรษฐกิจยุค Covid-19 - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

เคล็ดลับจัดการเงิน ให้มีเงินเก็บ แสนแรก ในเศรษฐกิจยุค Covid-19

Banner สถานการณ์โควิด-19 ทำเอาหลายคนประสบปัญหาทางการเงินกันถ้วนหน้า ทั้งการโดนลดเงินเดือน ลดโบนัส, ธุรกิจขายไม่ออก หรือต้องเปลี่ยนวิธีลงทุนใหม่เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องรู้ เคล็ดลับจัดการเงิน เพื่อให้มีเหลือเก็บเอาไว้บ้าง เข้าใจว่าแต่ละคนมีเรื่องให้ต้องใช้จ่ายเยอะในสถานการณ์แบบนี้ แต่ถ้าคุณไม่กันเงินเผื่อเอาไว้ยามฉุกเฉินบ้างเลยจะยิ่งลำบาก ลองมาดูเคล็ดลับที่จะช่วยให้เรื่องเหล่านี้ง่ายขึ้นกว่าเดิม นำเอาไปปรับใช้กับตนเองได้จริง

เคล็ดลับจัดการเงินยุค Covid-19 มีเงินเก็บเหลือใช้แบบไร้กังวล

Image2

1. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจนในแต่ละเดือน

สำหรับคนที่ทำอยู่แล้วก็ถือเป็นเรื่องดีเพื่อจะได้เห็นจำนวนเงินของตนเองว่ามีสภาพคล่องอย่างไรบ้าง แต่กับคนที่ยังไม่เคยทำ รายรับ-รายจ่าย มาก่อน นี่คือเรื่องสำคัญมาก เพราะอย่างที่กล่าวไปว่ามันช่วยให้คุณบริหารเงินของตนเองได้ง่ายกว่าเดิม พอรู้ว่ามีรายได้เท่าไหร่ รายจ่ายเยอะแค่ไหนผ่านบัญชีตรงนี้ก็มองหาวิธีประหยัดเงิน ยกเลิกการใช้จ่ายกับเรื่องไม่จำเป็นออกไป อีกทั้งยังมีโอกาสกันเงินเอาไว้สำหรับเก็บออมอีกต่างหาก

ทั้งนี้ในการทำบัญชีรายรับ-ร่ายจ่าย หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติแบบนี้การรู้ความเคลื่อนไหวเงินของตนเอง หรือการเข้าใจสภาพคล่องด้านการเงินจัดเป็นเคล็ดลับจัดการเงินที่ช่วยให้คุณผ่านวิกฤตได้อย่างไม่เดือดร้อนมากนัก

2. ตัดค่าใช้จ่ายส่วนที่จะเปย์ตนเองออกในบางเรื่องแล้วเปลี่ยนเป็นเงินเก็บดีกว่า

หากคุณใช้งานแอป MAKE by KBank และเลือกใช้ฟีเจอร์ Cloud Pocket อาจมีการแบ่งกระเป๋าเงินเป็นค่าท่องเที่ยว ค่าช้อปปิ้ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกจิปาถะเสมือนกับกำลังให้รางวัลชีวิตตนเอง แต่เหนือสิ่งอื่นใด กรณีที่สถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดีมากนัก เงินเดือนลดลง รายจ่ายเท่าเดิม แบบนี้ควรมีการเปลี่ยนกระเป๋าสำหรับใช้เปย์ตนเองบางเรื่องให้กลายเป็นเงินเก็บดีกว่า

ไม่มีใครรู้อนาคตจะเกิดอะไรขึ้น บางทีอาจต้องกลายเป็นคนว่างงาน เดินเตะฝุ่นแบบไม่รู้ตัว เงินส่วนที่เอาไว้เปย์ตนเองกับการต้องเอาตัวรอดจากความยากลำบากในช่วงนี้คงไม่ต้องอธิบายถึงความสำคัญและการจัดลำดับว่าสิ่งใดควรมาก่อน นี่ถือเป็นอีกเคล็ดลับจัดการเงินดี ๆ ที่คุณต้องรู้หน้าที่ สิ่งไหนมาเป็นอันดับ 1 แล้วเปลี่ยนมันให้ตนเองยังอยู่รอดแบบไม่ต้องเป็นหนี้สินหรือเป็นก็น้อยที่สุด

3. ใช้แอปพลิเคชันที่มีฟีเจอร์ดี ๆ เข้ามาช่วยเหลือ

Image3 อย่าพึ่งสงสัยว่าการใช้แอปพลิเคชันมันเกี่ยวข้องอะไรกับเคล็ดลับจัดการเงิน สมัยนี้ทุกอย่างมีความทันสมัย รวดเร็ว และสะดวก การมีแอปอย่าง MAKE by KBank จะช่วยให้คุณเก็บเงินและรู้ความเคลื่อนไหวทางการเงินของตนเองได้ง่ายขึ้น เพราะมี Cloud Pocket ที่สามารถแบ่งกระเป๋าเงินย่อย ๆ ออกมาได้ไม่จำกัด

หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วฟีเจอร์ Cloud Pocket จากแอป MAKE by KBank มันช่วยให้เก็บเงินอยู่ได้อย่างไร ก็ตามที่บอกไปเลย หากลองใช้งานแล้วจะพบว่าฟีเจอร์นี้คล้ายกับการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายออนไลน์ เมื่อคุณได้รับเงินมา คุณสามารถแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องใช้งานจริง พอแบ่งเงินก้อนใหญ่ออกเป็นก้อนย่อยทั้งหมดก็ให้ใช้งานตามนั้น เงินส่วนที่เหลือเก็บเป็นเงินออม หรือถ้าไม่เหลือเลยในเดือนนั้น ๆ อย่างน้อยก็อาจไม่เป็นหนี้เพราะบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม แยกเงินที่ต้องใช้แต่ละเรื่องเอาไว้ชัดเจนแล้ว

4. ไม่สร้างหนี้ใหม่ เลือกใช้ชีวิตตามกำลังทรัพย์ของตนเอง

ความไม่มีหนี้เป็นเรื่องที่ประเสริฐอย่างหนึ่งในชีวิต แต่เข้าใจดีว่าบางเรื่องมันก็ต้องสร้างหนี้สินเพื่อให้ได้มา เช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ สิ่งเหล่านี้คือของจำเป็นที่พอเข้าใจได้ ทว่าในสถานการณ์ Covid-19 ที่กำลังเกิดขึ้น ไม่แนะนำให้คุณสร้างหนี้สินใหม่เพิ่มเป็นอันขาด อย่าลืมว่าแค่ตอนนี้รายรับก็แทบไม่พอกับรายจ่ายแล้ว ถึงกระนั้นก็มีคำถามตามมาในกรณีที่คนไม่มีเหลือเลย ทำอย่างไรได้บ้าง

ให้ลองลดค่าใช้จ่ายของตนเองดูว่าเรื่องไหนไม่สำคัญถอดออกให้เยอะที่สุด กันเงินส่วนนั้นเอาไว้ใช้ดำเนินชีวิตให้ยาวนาน เช่น เคยเปิดแอร์นอนก็อาจลดเหลือแค่พัดลมเพื่อประหยัดค่าไฟ, เคยดื่มกาแฟแก้วละหลายสิบบาท เปลี่ยนมาเป็นการดื่มกาแฟซอง 5 บาท เป็นต้น ของเหล่านี้หากต้องการผ่านวิกฤตไปได้ก็ต้องอดทนและพยายาม ทุกคนเดือดร้อนแบบถ้วนหน้า แต่ถ้าหากคุณรอดจากมันได้จะยิ่งเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้แข็งแกร่ง

เคล็ดลับจัดการเงิน ในยุค Covid-19 ที่แนะนำนี้ทุกคนสามารถเอาไปปรับใช้กันได้เลย เน้นย้ำอีกเรื่องที่อยากฝากเอาไว้คือ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวอะไรขึ้นให้คุณมีสติและค่อย ๆ ปรับแก้ไขมันไปทีละขั้นตอนอยู่เสมอ อย่าพึ่งเครียดหรือกังวลใจจนเกินเหตุ มันจะยิ่งทำให้ความคิดต่าง ๆ ลดน้อยลง หรือถ้าเป็นไปได้นี่คืออีกบทเรียนชั้นดีที่ทุกคนควรมีการกันเงินเอาไว้เก็บยามมีเรื่องเดือดร้อน หากสถานการณ์ปกติคุณจะแบ่งสัก 10% ของรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายเอามาเป็นเงินยามฉุกเฉิน พอเจอกับปัญหาอะไรแบบนี้ก็ไม่มีเรื่องไหนให้ต้องกังวลมากมาย ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

กลับไปหน้าแรก